วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หน้าแรก



บทนำ
ในปัจจุบัน ที่เป็นยุคเทคโนโลยี และการสื่อสาร ที่ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถมีโทรศัพท์มือถือ จึงเกิดโรคติดโทรศัพท์มือถือขึ้นโดย YouGov บัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกอาการของโรคนี้ขึ้นเมื่อปี 2008 จากการนำคำว่า no-mobile-phone มารวมกับคำว่า phobia หรือโรคกลัวในทางจิตเวชเป็น Nomophobia คืออาการทางจิต และกำลังเกิดขึ้นกับหมู่วัยรุ่นในปัจจุบัน ที่เป็นวัยที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น Nomophobia มากที่สุด โดย Nomophobia นอกจากจะทำให้เสียบุคลิกแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพด้วย ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดเมื่อย อาการตาเสื่อม อาการนิ้วล็อก อาการอ้วนและโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ซึ้งไม่ส่งผลอันดีเลย Nomophobia จึงเป็นโรคที่ไม่ควรถูกมองข้าม

           จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนั้น ควรมีการนำเสนอและให้ความรู้เรื่อง Nomophobia แก่วัยรุ่นหรือผู้คนที่ยังไม่ทราบถึงโรคติดโทรศัพท์มือถือนี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะให้ความรู้เรื่อง Nomophobia ผ่านทาง Blogger ซึ้งเป็นการง่ายต่อการเข้าถึงและยังมีการนำภาพและวีดีโอซึ้งเป็นสื่อมัลติมีเดียมาใช้ประกอบคำอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
-เพื่อต้องการให้ผู้รับมีความรู้เรื่อง Nomophobia
-เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยจาก Nomophobia
-เพื่อให้ผู้รับสามารถที่จะเข้าถึงได้ง่าย


สำหรับ

กลุ่มวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 18-24 ปี ร่วมทั้งวัยกลางคน ที่ยังขาดความรู้ในเรื่องของ Nomophobia

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของ Nomophobia

ความหมายของ Nomophobia




          Nomophobia "โนโมโฟเบีย" เป็น อาการที่เกิดจากความหวาดกลัวจากการขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อการติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงภาวะความเครียดที่อยู่ในจุดอับสัญญาณ หรือเเบตเตอรี่หมด จนไม่สามารถติดต่อใครได้


          "YouGov" ซึ่งเป็นองค์การวิจัยของสหราชอาณาจักร บัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกอาการของโรคนี้ขึ้นเมื่อปี 2008 จากการนำคำว่า no-mobile-phone มารวมกับคำว่า phobia หรือโรคกลัวในทางจิตเวช จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวล เป็นความกลัวที่มากกว่าความกลัวทั่วๆ ไป  และยังได้รับการบัญญัติศัพท์ เมื่อปี 2008 โดย UK Post Office หรือการไปรษณีย์ของสหราชอาณาจักรอีกด้วย โดยตอนนั้นได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของคนในสหราชอาณาจักร 2,100 คน ซึ่งสมัยนั้นคนที่นั่นติดโทรศัพท์สุดขีด 53 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่าเป็นโรคกลัวมีโทรศัพท์มือถือใช้ (คิดเป็นผู้หญิง 42 เปอร์เซ็นต์ และผู้ชาย 58 เปอร์เซ็นต์)

วีดีโอโรคติดโทรศัพท์มือถือ

สาเหตุของ Nomophobia

สาเหตุของ Nomophobia



            Nomophobia เกิด จากยุคสมัยของโลกทุกวันนี้ที่เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีให้มีการแพร่หลายไป สู่คนทั่วไปทุกผู้ทุกวัย โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถมีได้ทั้งนั้นแล้วเทคโนโลยีทุกวันนี้ได้ทำให้ โทรศัพท์มือถือเป็นมากกว่าโทรศัพท์มือถือ หรือที่เรียกว่า smartphone โทรศัพท์ อัจฉริยะ ทั้งสามารถถ่ายรูปได้ เข้าอินเตอร์ เล่นเกม ฟังเพลง ดูหนัง และยังมีอื่นๆอีกมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมกันในหมู่วัยรุ่นไปจนถึงวัยกลางคนคือ แอพพลิเคชั่น ประเภทโซเชียล ไม่ว่าจะเป็น Facebook Line skype twitter instagram และ อื่นๆอีกมากที่สามารถติดต่อสื่อสารพูดคุยกันกันได้ตลอด ซึ่งมันสะดวกมากเพราะไม่จำเป็นต้องไปเจอกันจริงเพื่อพูดคุยแต่สามารถพูดคุย กันผ่านโทรศัพท์ได้เลย ทั้งข้อความ ข้อความเสียง หรือ เปิดกล้องfacetime คุย กันได้แบบเห็นเลยก็มี และด้วยความสะดวกนี้เองทำให้คนเราใช้มันบ่อยยิ่งขึ้นจนติดเป็นนิสัย ทำเป็นประจำของชีวิต จนวันหนึ่งขาดมันไม่ได้ หรือห้ามใจไม่ไหว ดังนั้น หากวางมือถือผิดที่จะใช้เวลาเพียงไม่นานก็ทราบว่ามือถือหาย จนแทบจะพูดได้เลยว่ามันคือปัจจัยที่5ของมนุษย์ไปแล้ว

อาการและผลกระทบ

อาการและผลกระทบ

          สัญญาณเตือนที่จะบอกว่าคุณหรือคนใกล้ตัวติดสมาร์ทโฟนเข้าขั้นวิกฤต ให้สังเกตตัวเองหรือคนใกล้ดูว่ามีอาการดังนี้หรือไม่


1. หยิบโทรศัพท์มาเช็กทันทีที่มีเสียงเตือน
          แม้ ว่าจะยุ่งแค่ไหนแต่ถ้ามีเสียงติ๊ดเบา ๆ หรือเสียงสัญญาณว่าโทรศัพท์มีการติดต่อเข้ามา คุณก็จะละทิ้งภารกิจติดพันทุกอย่างลงทันที แล้วหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูอย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่เช่นนั้นจะเกิดอาการกระวนกระวาย ลุกลี้ลุกลนหมดสมาธิกับอย่างอื่นอย่างฉับพลัน ถ้าเป็นอย่างนี้ก็แสดงว่า คุณเริ่มมีอาการโนโมโฟเบียแล้ว

 
2. หลอนว่าโทรศัพท์สั่นหรือดังอยู่บ่อย ๆ
          อาการหลอนว่าโทรศัพท์สั่นหรือดัง (Phantom Cellphone Syndrome) ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีสัญญาณโทรศัพท์เข้ามาจริง ๆ เป็นอาการที่ค่อนข้างชัดเจนมากว่า คุณกำลังติดเทคโนโลยีไร้สายเข้าขั้นวิกฤตแล้ว แต่จะว่าไปก็เป็นอาการพื้นฐานที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ยืนยันด้วยผลสำรวจของ Indiana University-Purdue University Fort Wayne ที่พบว่า 89% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ มีอาการหลอนว่าโทรศัพท์สั่น หรือดังทั้ง ๆ ที่ไม่มีสายเข้าอยู่บ่อย ๆ


3. มีอาการ FOMO หรืออาการกลัวพลาดข่าวสารสำคัญ
          ลอง สังเกตตัวเองดูบ้างไหมคะว่าคุณอัพเดทหน้าแรกของโซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรมอยู่ตลอดเวลาหรือเปล่า ชนิดที่วางโทรศัพท์ได้ไม่ถึง นาที ก็ยกขึ้นมาเช็กข่าวใหม่ ๆ อีกครั้งแล้ว เรียกได้ว่าอยากจะรู้ทั้งข่าวสาร และเรื่องราวของชาวโซเชียลมีเดียอย่างใกล้ชิด ใครไปทำอะไรที่ไหน เมื่อไร กินอะไร ก็พลาดไม่ได้สักวินาที ถ้าไม่รู้ก็จะหงุดหงิด กระวนกระวาย ใจไม่เป็นสุข ถ้าคุณรู้ตัวว่ามีอาการ FOMO (Fear Of Missing Out) หรือ อาการกลัวพลาดข่าวสารในโซเชียลมีเดียแบบนี้ ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซะใหม่ ปล่อยผ่านเรื่องราวของคนอื่นไปบ้าง แล้วหันมาสนใจเรื่องของตัวเอง กับสิ่งที่ตัวเองทำให้มากขึ้นดีกว่า


4. ไม่สนใจคนรอบข้าง
          เดี๋ยว นี้เป็นพฤติกรรมที่เห็นกันชินตาเลยก็ว่าได้ ขนาดมาด้วยกัน นั่งใกล้กัน ต่างคนก็ต่างนั่งคุยโทรศัพท์ ไม่ยอมหันหน้ามามองหรือพูดคุยกันเลย ซึ่ง ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ คนใกล้ชิดที่เคยสนิทสนมกันก็อาจจะกลายเป็นความห่างเหินเหมือนมีช่องว่างตรง กลางที่เอื้อมไม่ถึง เนื่องจากต่างฝ่ายต่างขาดการสื่อสารซึ่งกันและกัน หรือฝ่ายหนึ่งส่งสารไป แต่อีกฝ่ายไม่รับสารนั้น มัวนั่งก้มหน้าจิ้มโทรศัพท์หน้าตาเฉย ฉะนั้นอย่าปล่อยให้พฤติกรรมแบบนี้เกิดขึ้นกับคุณดีกว่า ที่สำคัญอย่าปล่อยให้เทคโนโลยีมาพรากคุณออกจากความอบอุ่นของเพื่อน ครอบครัว และคนใกล้ชิด


5. ขาดโทรศัพท์ขาดใจ
          สำหรับ คนที่อยู่ห่างโทรศัพท์ไม่ได้เลย เพราะเมื่อไรที่ไม่ได้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาอัพเดทสเตตัส ถ่ายรูป หรือเช็กอิน ก็เหมือนจะขาดใจตายเสียให้ได้ นั่นก็แสดงว่าคุณเข้าข่ายติดโทรศัพท์อย่างหนัก เรียกได้ว่าถ้าเปรียบเทียบกับอาการป่วยก็ต้องบอกว่าเขาขั้นสาหัสเลยทีเดียว ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่าเป็นแบบนี้ ควรจะออกห่างจากโทรศัพท์บ้าง ทำเป็นเหมือนไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัวได้เลยยิ่งดี เพื่อลดอาการเสพติดโทรศัพท์ ที่อาจจะเป็นสาเหตุให้คุณรู้สึกเครียด และมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา

6. ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลง
          ถ้า วัน ๆ ไม่สามารถเงยหน้าขึ้นมาจากโทรศัพท์ หรือแยกแยะและเรียงลำดับความสำคัญของชีวิตในแต่ละวันได้ คงไม่พ้นต้องเสียสมาธิในการเรียนและการทำงานไปไม่น้อย จนอาจจะเป็นสาเหตุให้คุณมีประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงไปอย่างไม่ น่าเชื่อ ซึ่งถ้าไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ ให้ห่างไกลจากอาการติดโทรศัพท์มือถือโดยด่วน ก็อาจจะต้องเสียใจกับผลลัพธ์ที่จะตามมาทั้งในเรื่องของหน้าที่การงาน การเรียน รวมทั้งปัญหาสุขภาพที่คาดไม่ถึงอีกมาก


นอกจากจะเสียบุคลิกและสภาพจิตแล้วยังมีผลกระทบด้านสุขภาพด้วย ดังนี้



อาการปวดเมื่อย
          อาการปวดเมื่อย คอ บ่า ไหล่ ถือเป็นอาการลำดับแรกๆ ที่เป็นผลมาจากการนั่งเกร็งในท่าเดิมๆ ยิ่งไปกว่านั้นเวลาที่เราเพ่งดูหน้าจอนั้น ท่าทางรายการของเราก็จะค่อยค้อมลง ตัวงอและงุ้ม ส่งผลให้ล้าไปทั้งคอและบ่า และอาจส่งผลไปถึงการปวดศีรษะ เพราะเลือดที่ไปเลี้ยงสมองนั้นต้องไหลผ่านกล้ามเนื้อส่วนบ่า ต้นคอ เมื่อเกิดอาการเกร็งจนกล้ามเนื้อบิด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกนัก เมื่อเป็นบ่อยครั้งเข้าจะทำให้รู้สึกปวดศีรษะได้ หากเกิดอาการนี้กับเด็กหรือวัยรุ่นจะส่งผลให้กระดูกหรือหมอนรองกระดูกเสื่อ ก่อนวันอันควรอีกด้วย  นอกจากปวดเมื่อยแล้วจากการนั่งหลังงุ้มแล้ว ยังส่งผลต่อโรคระบบทางเดินหายใจ เมื่อนั่งหลังงุ้มจะทำให้หายใจไม่สุดปอด หายใจสั้นและติดขัด ส่งผลต่อการขับของเสียหรือเชื้อโรคในทางเดินหายใจที่ถูกจำกัดลง

อาการตาเสื่อม
          การจ้องหน้าจอนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาเกร็งตัว เมื่อมองแสงสีของภาพจากจอที่ฉูดฉาด เคลื่อนที่เร็ว ทำให้ประสาทตาล้า เกิดอาการตาแห้ง ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้บ่อยครั้งเข้าก็จะส่งผลให้ประสาทตาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

อาการนิ้วล็อก
          การใช้มือถือจิ้มที่หน้าจอบ่อยๆ นานๆ อาจทำให้เป็นอาการนิ้วล็อก นิ้วชา ปวดข้อมือ อาจะถึงขั้นเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ ลักษณะอาการนิ้วล็อกให้สังเกตจาก จะเริ่มกำมือไม่ค่อยลง มือและนิ้วแข็ง กำแล้วเหยียดขึ้นไม่ได้ เมื่อตื่นนอนขึ้นมายิ่งรู้สึกมือแข็งมาก รู้สึกปวดเมื่อยมือและนิ้ว ให้สงสัยได้เลยว่าคุณกำลังเป็นโรคนิ้วล็อก ควรพบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป 

อาการอ้วนและโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
          การ นั่งอยู่กับที่นานๆ ทำให้ร่างกายไม่เกิดการเผาผลาญ อาหารถูกพอกพูนเป็นไขมันสะสมโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ก้น และต้นขา เกิดการสะสมเซลลูไลท์ นอกจากจะทำให้อ้วนขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพของกระเพาะอาหาร อาหารย่อยยาก ท้องอืด ลำไส้อ่อนแรง เพราะไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวของลำไส้

ผลสำรวจและสถิติ

ผลสำรวจและสถิติ 

 


ผลการสำรวจในอังกฤษที่จัดทำโดยบริษัทเทคโนโลยี SecureEnvoy ระบุว่า จากจำนวนคนที่ทำการสำรวจทั้งหมด 1,000 คน มีมากถึงสองในสาม(66%)ที่ยอมรับว่าพวกเขากลัวที่จะอยู่โดยไม่มีโทรศัพท์มือถือ(คิดเป็นผู้หญิง 70 เปอร์เซ็นต์ ผู้ชาย 61 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่มากขึ้นกว่าเมื่อ ปีก่อน เพราะเมื่อ4ปีก่อนได้มีการศึกษาโดย UK Post Office ที่ได้ตัวเลข 53 เปอร์เซ็นต์ ยุคนั้นจำนวนผู้ชายกลัวมือถือหายมากกว่าผู้หญิง แต่ พ.ศ. นี้ผู้หญิงกลัวมือถือหายมีจำนวนมากกว่าผู้ชายอยู่ร้อยล่ะ9 ซึ่งคาดว่าเป็นเพราะผู้ชายสมัยนี้นิยมมีมือถืออย่างน้อยสองเครื่องขึ้นไป เลยทำให้มีความกลัวมือถือจะหายน้อยกว่าเมื่อก่อน 

                คนที่มีอาการแบบนี้มากที่สุดคือกลุ่มคนในอายุ 18-24 ปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77 ตามมาด้วยกลุ่มคนอายุ 25-34 คิดเป็นร้อยละ 68 สาเหตุ ที่ยิ่งอายุน้อยยิ่งขาดมือถือไม่ได้นั้น นักจิตวิทยาวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่ติดเพื่อนแทบ 24 ชั่วโมง อยู่คนเดียวแล้วเหงา เบื่อ ดังนั้น จึงมีมือถือเป็นเพื่อน และใช้ในการติดต่อเพื่อน

                เว็บไซต์ allAboutCounseling.com ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการของโรค nomophobia ว่า ประกอบด้วย อาการตัวสั่น เหงื่อออก และคลื่นไส้ ในตอนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัว นอกเหนือจากนี้ คนที่มีนิสัยหมกมุ่นกับการคอยตรวจดูมือถือตลอดเวลาและมักจะกังวลว่าโทรศัพท์ วางอยู่ถูกที่หรือเปล่า ก็อาจจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน  สำหรับ อาการเตือนว่าผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรค "โนโมโฟเบีย" คือ หยิบมือถือขึ้นมาดูถี่ กลัวว่าโทรศัพท์จะหายแม้จะอยู่ในที่ที่ปลอดภัย และไม่เคยปิดมือถือเลย 

               จากการศึกษาของ Helsinki Institute for Information Technology ประเทศฟินแลนด์ ในปัจจุบันพบว่า
"ผู้คนหยิบมือถือของตัวเองขึ้นมาดูโดยเฉลี่ย 34ครั้ง/วัน"
"ขณะที่ 75%บอกว่าใช้มือถือระหว่างทำภารกิจในห้องน้ำ"

วีดีโอผลสำรวจและสถิติ

กรณีตัวอย่าง

กรณีตัวอย่าง



"เปรมหรือ กรณัฐ การุณย์ หนุ่มวัย 21 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก็ยอมรับว่าติดทั้งไลน์ เฟซบุ๊ก รวมทั้งเกมส์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือ

"ผม ว่ามันสำคัญ ผมชอบโหลดเกมส์มาเล่น ซึ่งหลายเกมเป็นเกมส์ออนไลน์ ต้องใช้เวลาเล่นที่ต่อเนื่อง เพราะต้องเเข่งขันกับเวลา เเละคู่ต่อสู้คนอื่น เเน่นอนว่าผมต้องนั่งก้มจ้องโทรศัพท์ตลอด"

นอกจากจะเป็นปัญหาทางจิตเเล้ว การติดโทรศัพท์ได้สร้างปัญหาทางกายให้กับกรณัฐอีกด้วย

"หลาย ครั้งก็ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยหลัง เเละปวดช่วงต้นคอ" กรณัฐบอก เเละเผยอีกว่า "การ ติดโทรศัพท์มีผลกระทบต่อการเรียนของตัวเองบ้าง เพราะหลายๆ เกมส์สนุกจนดึงดูดความสนใจมากกว่าวิชาเรียนที่อยู่ตรงหน้า ว่างเมื่อไหร่ก็หยิบทันที เเละทุกครั้งที่อยู่คนเดียวก็หยิบมาเล่น หรืออย่างพักหลังๆ นี้แม้ว่าอยู่กับเพื่อน หากว่าไม่มีอะไรน่าสนใจ ก็หยิบโทรศัพท์มาเล่นเลยเหมือนกัน" 





"บีบี" ภูษิตา พลรักษ์ พนักงานออฟฟิศวัย 23 ปี ซึ่งบอกเล่าว่า โทรศัพท์เป็นสิ่งเเรกที่เธอหยิบ เเละเป็นสิ่งสุดท้ายที่วางก่อนนอน โดยแอพพลิเคชั่นประจำของเธอคือ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม เเละมีกิจกรรมสำคัญคือ "ถ่ายรูป"

"ไม่ รู้ว่าติดโทรศัพท์หรือเปล่า เเต่เป็นสิ่งที่ห้ามลืม เเละแฟนชอบบ่นว่า พอไม่เจอกันก็บอกว่าคิดถึง พอเมื่ออยู่ด้วยกัน ก็เล่นเเต่โทรศัพท์ จนต้องตั้งกฎว่า เวลาอยู่ด้วยกันต้องห้ามเล่น" ภูษิตาเผย

ถามว่า มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดโทรศัพท์ไหม?

"เคย มี ตอนนั้นเราเล่นโทรศัพท์เเชต ถ่ายรูปทั้งวันจนเเบตหมด เเล้วมารู้ทีหลังว่าจังหวะนั้นมีคนโทร.มาติดต่อให้เราไปทำงาน ซึ่งเมื่อเราโทร.กลับไป ก็พบว่าเขาเลือกคนอื่นทำงานเเทนเราไปเเล้ว"




นพ.ประยูร เจนตระกูลโรจน์ ผู้ อำนวยการโรงพยาบาลผิวหนังอโศกเเละแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ที่ถึงเเม้จะมีอาชีพหลักเป็นนายเเพทย์ เเต่เมื่อตัวเองมีประสบการณ์ตรงจากผลกระทบของปัญหาโทรศัพท์ ทำให้เริ่มค้นหาข้อมูล ก่อนจะเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโรคประหลาด นี้ให้ฟัง

คุณหมอเล่าว่า ครั้งหนึ่งที่กำลังเดินพักผ่อนในห้างสรรพสินค้า ผมเกิดทำมือถือหาย จังหวะนั้นความกังวลใจเเละความเครียดเข้ามาในหัวเลย เราคิดทันทีว่า เอ๊ยถ้าโรงพยาบาลโทร.ตามเพราะมีเคสพิเศษล่ะคนไข้จะเป็นอย่างไร?

"การ ไม่มีโทรศัพท์ทำให้เรารู้สึกว่ามีปัญหาเเล้ว การขาดการติดต่อ ให้ความรู้สึกไม่เป็นสุข เเทนที่จะได้พักผ่อน เป็นเวลาสบาย กลับกลายเป็นความฉุกเฉิน เเละพยายามพาตัวเองกลับไปอยู่ในลักษณะที่พร้อมจะสื่อสารให้ได้"

จาก เหตุการณ์นี้เองที่ทำให้ นพ.ประยูรติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับอาการที่ตัวเองประสบ กระทั่งได้ข้อวิธีการสังเกตของอาการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รวมถึงวิธีการรักษา

นพ.ประยูรได้ให้ความรู้ว่า ต้องใช้การรักษาแบบ Connitive Behavior Therapy (CBT) ซึ่ง เป็นการรักษาที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่างๆ ทำโดยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อเฉพาะตัวเเละกรอบความคิดเพื่อให้ผู้ป่วยเห็นปัญหาใน ปัจจุบัน เเละสามารถลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้

คนส่วนใหญ่ที่รับการรักษาจนหายดีเเล้ว จะรู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือให้ต้องมาคอยเป็นกังวล

เเต่ห ากสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการติดโทรศัพท์ อาจารย์หมอบอกว่า อาจลองรักษาด้วยตัวเองก่อน เริ่มง่ายๆ จากการลองใช้ชีวิตโดยปราศจากมือถือสักช่วงหนึ่ง

"อาจ เป็นช่วงวันหยุด หรือช่วงสุดสัปดาห์ที่ไม่ต้องกังวลกับเรื่องงาน อาจออกกำลังกาย นั่งสมาธิ หรือฝึกหายใจด้วยโยคะ ปิดโทรศัพท์มือถือเมื่อเข้านอน หมั่นเเบ๊กอัพข้อมูลในโทรศัพท์มือถือไว้เสมอเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเป็นกังวล

"แต่หากทำเเล้วรู้สึกว่าไม่สามารถอยู่ห่างจากโทรศัพท์มือถือได้ ควรรีบปรึกษาจิตเเพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง"

นพ.ประยูร ทิ้งท้ายอีกด้วยว่า ยังมีวิธีการที่ง่ายที่สุดเมื่อเตรียมจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น ทางแก้ไขคือเดินไปคุยกับใครสักคนที่อยู่ใกล้ๆ แค่นี้ก็จะพบว่าไม่ได้อยู่คนเดียวเเล้ว

วีดีโอตัวอย่างผู้ป่วยเป็น Nomophobia

การบำบัดรักษา

การบำบัดรักษา


          ทางการแพทย์ต้องใช้การรักษาแบบ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ซึ่ง เป็นการรักษาที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่างๆ ทำโดยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อเฉพาะตัวเเละกรอบความคิดเพื่อให้ผู้ป่วยเห็นปัญหาใน ปัจจุบัน เเละสามารถลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ เมื่อรับการรักษาจนหายดีเเล้ว จะรู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือให้ต้องมาคอยเป็นกังวล

          หากคุณรู้ตัวว่าพึ่งเริ่มติดโทรศัพท์ ลองรักษาด้วยตัวเองก่อน เริ่มจากลองใช้ชีวิตโดยไม่ต้องมีมือถือ ใช้มือถือเฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น หากรู้สึกเหงา ให้เดินไปคุยกับใครสักคนใกล้ๆ แถวนั้น คุยกับคนในบ้าน คุยกับเพื่อนร่วมงาน ในช่วงวันหยุดลองไม่หยิบมือถือขึ้นมาเมื่อรู้สึกว่างให้หาอะไรทำอย่างอื่นทด แทน อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ปิดโทรศัพท์มือถือเมื่อเข้านอน แต่หากทำเเล้วรู้สึกว่าไม่สามารถอยู่ห่างจากมือถือได้ ควรปรึกษาจิตเเพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

ข้อคิดแนะนำ

ข้อคิดแนะนำ

 


เทคโนโลยีผูกพันและสำคัญกับชีวิตของคนเราในยุคนี้ตลอด 24 ชั่วโมง ต้องรู้จักฉลาดเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา เลือกใช้ให้พอประมาณ เพื่อรักษาร่างกายของเราให้คงอยู่กับเราต่อไปนานๆ
โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สื่อ สารที่มีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน จนจะกลายเป็นปัจจัยที่ อยู่ ร่อมร่อก็จริง แต่ถ้าไม่รู้จักใช้อย่างเหมาะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ อย่างเช่น อาจจะทำให้เราเครียดและวิตกกังวลมากไปโดยไม่รู้ตัวได้ ดังนั้นรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เป็นกันดีกว่า

อ้างอิง

อ้างอิง 

- คอลัมน์ คลุกวงใน: มติชน ฉบับวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

- คอลัมน์ ทันโรค: ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

- เว็บไซน์ www.kapook.com

- เว็บไซน์ www.mashable.com

- เว็บไซน์ www.google.com

- เว็บไซน์ www.sanook.com


คำถามจากการเรียนรู้

1.Nomophobia คือโรคอะไร
ก.โรคติดรถ                  ข.โรคติดบ้าน
ค.โรคติดโทรศัพท์มือถือ  ง.โรคติดทีวี

2.Nomophobia ถูกบัญญัติศัพท์ขึ้นในปีอะไร โดยใคร
ก.2008                          ข.2012
ค.2013                          ง.2014

3.Nomophobia ย่อมาจากทำว่าอะไร
ก.no mobile phone+phobie  ข.no more+phobie
ค.no money+phobie            ง.no name+phobie

4.สาเหตุของ Nomophobia เกิดจากอะไร
ก.รถติด                       ข.ดื้อยา
ค.ความเครียด               ง.เทคโนโลยีเข้าถึงผู้ทั่วทุกคน

5.อาการของ Nomophobia เป็นอย่างไง
ก.คันตามตัว                 ข.ขาดโทรศัพท์หมือนขาดใจ
ค.คอแห้ง                     ง.มือสั่นและเห็นภาพหลอน

6.ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบของ Nomophobia
ก.ปวดเหมื่อย                ข.ตาเสื่อม
ค.ผมร่วง                      ง.นิ้วล็อก

7.จากผลสำรวจในปัจจุบันพบว่าผู้ชายมีโอกาสเป็น Nomophobia กี่เปอร์เซ็น
ก.99%                        ข.69%
ค.61%                        ง.22%

8.จากผลสำรวจในปัจจุบันพบว่าผู้ที่มีอายุ 18-24 ปี มีโอกาสเป็น Nomophobia กี่เปอร์เซ็น
ก.10%                        ข.30%
8.60%                        ง.70%

9.ผลสำรวจเมื่อ4ปีก่อนพบว่าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ1000คน มีโอกาสเป็น Nomophobia กี่เปอร์เซ็น
ก.53%                        ข.66%
ค.77%                        ง.84%

10.ในการรักษา Nomophobia ในทางการแพทย์ต้องใช้การรักษาแบบใด
ก.ปรับเปลี่ยนการกิน                        ข.ปรับเปลี่ยนความคิด
8.ปรับเปลี่ยนการนอน                      ง.ปรับเปลี่ยนการแต่งตัว